วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อันตรายที่เกิดจากบุหรี่ในวัยรุ่น




1.  นิโคตินเป็นสารเสพติด เมื่อไม่ได้สูบจะเกิดอาการเสี้ยนยา
จึงทำให้ติดยาเสพติดอื่นได้ง่าย
2.  วัยรุ่นที่สูบบุหรี่เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ง่ายและรุนแรงกว่าวัยรุ่นที่ไม่สูบบุหรี่
3.  การสูบบุหรี่กระตุ้นหัวใจ เพิ่มภาวะเครียดแก่หัวใจ ทำให้ไขมันชนิดไม่ดีในเลือดสูงขึ้น  ทำให้เกิดมะเร็งปอด  เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง  โรคหัวใจ อายุยิ่งน้อย ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเร็วขึ้นเท่านั้น
4.  วัยรุ่นที่สูบบุหรี่จะมีผิวหนังและใบหน้าเหี่ยวย่น  ความแข็งแรงของร่างกายน้อยกว่าวัยรุ่นที่ไม่สูบบุหรี่
5.  การสูบบุหรี่จะทำให้ภูมิต้านทานลดลง
 และเพิ่มความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอดส์ (เอชไอวี) ง่ายขึ้น

รัฐบาลมีมาตรการป้องกันในเรื่องบุหรี่

     รัฐบาลมีมาตรการป้องกันในเรื่องบุหรี่ คือ ออก พรบ.คุ้มครองสุขภาพ ของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 และในปี พ.ศ. 2549 กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้สถานที่ต่างๆ ที่มีผู้มาใช้บริการเป็นจำนวนมากเป็นเขตปลอดบุหรี่ ไม่อนุญาตให้มีการสูบบุหรี่ภายในสถานที่นั้นๆ โดยมีการแสดงเครื่องหมายปลอดบุหรี่ เช่น สถานศึกษา สถานที่ที่ติดแอร์ โรงเรียน โรงอาหาร สถานที่ราชการ หรือสถานที่ที่ควรงดสูบบุหรี่อื่นๆ

โอกาสในการเกิดมะเร็งปอดในผู้สูบบุหรี่



     โอกาสในการเกิดมะเร็งปอดในผู้สูบบุหรี่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
     1.  อายุที่เริ่มสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่ที่มีอายุน้อยจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งมากกว่าผู้ใหญ่ 
     2.  ระยะเวลา  ที่สูบบุหรี่ จำนวนบุหรี่ที่สูบในแต่ละวัน
     3.  ความลึกในการสูบบุหรี่เข้าปอด   สำหรับผู้ที่ไม่ได้สูบเข้าปอดก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในช่องปากอีกด้วย
     การหยุดสูบบุหรี่จะช่วยลดการเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปอดและจะเห็นผลชัดเจนเมื่อหยุดสูบบุหรี่ได้นานมากกว่า 5 ปีขึ้นไป


น่ากลัวจังเลยครับ


นิโคตินและทาร์ จะทำลายอวัยวะของร่างกาย


     สารพิษที่สำคัญในควันบุหรี่   คือ นิโคติน  ทาร์  คาร์บอนมอนนอกไซด์  ไฮโดรเจนไซยาไนด์

     ชนิดแรกคือนิโคติน เป็นสารออกฤทธิ์โดยตรงต่อสมอง และร้อยละ 95 ของนิโคติน จะไปจับอยู่ที่ปอด บางส่วนถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด   ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วและไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดที่แขนและขาหดตัว เพิ่มไขมันในเส้นเลือด


      ตัวที่สองคือทาร์ หรือน้ำมันดิน เป็นสารก่อมะเร็ง เช่น มะเร็งปอด กล่องเสียง หลอดลม หลอดอาหาร ไต กระเพาะปัสสาวะ จะไปจับที่ปอด ทำให้ระคายเคือง ไอเรื้อรังมีเสมหะ

 
ปอดที่สูบบุหรี่ ที่มีน้ำมันดินเยิ้ม

หลอดเลือดหัวใจที่ตีบกว่าปกติ

หลอดเลือดหัวใจที่ปกติ

   ไนโตรเจนไดออกไซด์ เป็นแก๊สพิษที่ทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลาย  และถุงลม ทำให้ผนังถุงลมแตก รวมกันเป็นถุงลมใหญ่ ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง  
  

    สารกัมมันตรังสีในควันบุหรี่ มีสารโพโลเนี่ยม 210 ที่มีรังสีเอลฟาที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งปอดของผู้สูบบุหรี่และบุคคลรอบข้าง
     คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นแก๊สที่ทำให้เม็ดเลือดแดงจับออกซิเจนได้น้อยลง เกิดการขาดออกซิเจน และเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ
     แอมโมเนีย เป็นแก๊สมีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้    แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ ไอ และมีเสมหะมาก